วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

งานชิ้นที่2

ชื่อหน่วยงาน โรงเรียนวัดสามัคคีนุกูล
สถานที่ตั้ง ตำบล ไสหร้า อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช
ชื่อเรื่อง นวัตกรรมและสารสนเทศสู่โรงเรียนวัดสามัคคีนุกูล

แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศของสถานศึกษา
การบริหารจัดการด้านนวัตกรรมและสารสนเทศของสถานศึกษา มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการใช้นวัตกรรมและสารสนเทศของสถานศึกษาซึ่งจะต้องมีการลงทุนจำนวนมาก มีการเปลี่ยนแปลงการทำงานของบุคลากร และมีผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จำเป็นต้องวางแผนและพัฒนาไปพร้อม ๆ กันให้สอดคล้องกัน เริ่มต้นด้วยการนำระบบที่ดีซึ่งผ่านการพิสูจน์หรือทดลองว่าได้ผลดีแล้วมาใช้ จะช่วยให้การบริหารจัดการง่ายขึ้นและลดปัญหาที่อาจจะคาดไม่ถึงได้มาก ระบบที่ดีต้องใช้ง่ายและสอดคล้องกับสภาพการทำงานที่มีอยู่ในเรื่องของบุคลากร ความเหมาะสมและขีดความสามารถ ในขณะเดียวกัน การประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับงานที่ทำอยู่จะช่วยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเกิดเจตคติที่ดีและให้ความสนใจที่จะปรับเปลี่ยนพัฒนาไปใช้งานระบบใหม่ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นเรื่องสำคัญที่ทำให้ต้องปรับเปลี่ยนระบบงานอย่างต่อเนื่อง และสิ่งสำคัญที่ต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่องก็คือประสิทธิภาพประสิทธิผลของระบบงานซึ่งต้องติดตาม ประเมินผลและปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมทุกองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

วิสัยทัศน์ของโรงเรียน

ภายในปี 2552 โรงเรียนบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม มุ่งมุ่งจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถ และมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ ของหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีสุขภาพอนามัยดี มีคุณธรรมจริยธรรม เห็นคุณค่าและพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม ภายใต้ความร่วมมือกับชุมชนอย่างจริงจัง และบุคลากรของโรงเรียนได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้นักเรียนเก่ง ดี มีสุข ในสังคม

พันธกิจ
โรงเรียนวัดสามัคคีนุกูล จะจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพ ตามหลักสูตรที่กำหนดและความต้องการของชุมชน สังคม ภายใต้ความร่วมมืออย่างใกล้ชิด ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน



เป้าหมายของโรงเรียน
1. เป้าหมายด้านผู้เรียน
1.1. โรงเรียนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามความแตกต่างระหว่างบุคคล
1.2. นักเรียนมีความสามารถในการแสวงหาความรู้ด้วนตนเอง
1.3. นักเรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข มีผลสัมฤทธิ์ตามเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนด
1.4. นักเรียนมีค่านิยมที่พึงประสงค์
1.5. นักเรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตดี
2. เป้าหมายด้านครูผู้สอน
2.1. ครูพัฒนาตนเองตลอดเวลา
2.2. ครูสามารถประเมินผลการจัดการเรียนการสอนและนำผลจากการประเมิน
มาพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา
2.3. ครูสามารถจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
3. เป้าหมายด้านด้านบริหารจัดการ
3.1. ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชน
3.2. ผู้บริหารมีภาวะการเป็นผู้นำและมีความสามารถในการจัดการ
3.3. ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ในการจัดการศึกษาให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
3.4. จัดโครงสร้างและการบริหารโดยยึดหลักการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกฝ่าย

บริบทของโรงเรียน
โรงเรียนวัดสามัคคีนุกูล มีเนื้อที่ประมาณ 4 ไร่ 2 งาน 25 ตารางวาตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลไสหร้า อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช ห่างจากที่ตั้งจังหวัดนครศรีธรรมราช ประมาณ 80 กิโลเมตร ห่างจากที่ตั้งอำเภอ 2 กิโลเมตร
โรงเรียนวัดสามัคคีนุกูล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เปิดสอนเมื่อวันที่ 27 สิงหาคมาคม พ.ศ. 2475 การเรียนการสอนในสมัยนั้นมุ่งเน้นให้นักเรียนอ่านออก เขียนได้ คัดเลข เป็นหลัก ต่อมาในปี พ.ศ. 2509 ได้โอนการศึกษาประชาบาล ไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
ต่อมาในปี พ.ศ. 2523 ได้โอนจากสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดไปสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ ซึ่งรับผิดชอบการประถมศึกษาโดยเฉพาะ จนมาถึงปัจจุบันนี้ได้โอนไปสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน


ด้านการเรียนการสอน เปิดทำการเรียนการสอน 2 ระดับ
· ระดับก่อนประถมศึกษา ( อนุบาล 1,อนุบาล 2 )
· ระดับประถมศึกษา มี 2 ช่วงชั้น คือ ช่วงชั้นที่ 1 ( ป.1 – ป.3 ) และ ช่วงชั้นที่ 2 ( ป.4 – ป.6 )
ด้านบุคลากร ผู้บริหารสถานศึกษา 1 คน มีครูผู้สอน 10 คน เจ้าหน้าที่ธุรการ 1 คน และพนักงานบริการ 1 คน
ด้านจำนวนนักเรียน ในปีการศึกษา 2552 พบว่ามีนักเรียนชาย 108 คน นักเรียนหญิง81 คน รวมนักเรียนทั้งหมด 189 คน
สภาพชุมชน
โรงเรียนวัดสามัคคีนุกูล ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลไสหร้า อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราชห่างจากที่ตั้งจังหวัดนครศรีธรรมราช ประมาณ 80 กิโลเมตร ห่างจากที่ตั้งอำเภอ 2 กิโลเมตร ห่างจากที่ตั้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 ประมาณ 40 กิโลเมตร
สภาพทางเศรษฐกิจของประชาชนในท้องถิ่น ประกอบอาชีพการทำสวนยางพาราถึงร้อยละ 90 มีรายได้เฉลี่ยต่อหัวปีละประมาณ 7000 บาท
สภาพทางสังคม ประชาชนในท้องถิ่นอยู่กันแบบชาวชนบททั่วไป มีความผูกพันด้านสายเลือดและเป็นเครือญาติกัน ช่วยเหลือไปมาหาสู่กัน มีการช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีความรักสามัคคี ซึ่งกันและกัน ตั้งบ้านเรือนอยู่ในแหล่งประกอบอาชีพ ประชาชนรู้จักมักคุ้นไปมาหาสู่กันเป็นอย่างดี การประกอบอาชีพขึ้นอยู่กับปัจจัยเกี่ยวกับสภาพดินฟ้าอากาศ ปัญหาสังคมมีนักเรียนจำนวนหลายครอบครัวที่ครอบครัวมีปัญหาการหย่าร้างเกิดขึ้นทำให้ มีปัญหาด้านเศรษฐกิจเป็น ภาระที่โรงเรียนต้องให้การช่วยเหลือด้านทุนการศึกษาและอาหารกลางวัน สาธารณูปโภคมีเช่น โรงพยาบาล โรงเรียน ตลาด วัด ประชาชนที่ยากจนยังขาดโอกาสทางการศึกษา สมควรได้รับการแก้ไขต่อไปในอนาคต




ผนภูมิการบริหารงานโรงเรียนวัดสามัคคีนุกูล ปีการศึกษา 2552
นายบุญฤทธิ์ เสนาพันธ์
ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดสามัคคีนุกูล
กรรมการสถานศึกษา
กรรมการที่ปรึกษา
นักเรียน
โครงการ
โครงการ
โครงการ
โครงการ
โครงการ
นางวนิดา เพชรประพัน
นายจำเริญ สุขาทิพย์ การบริหารงานวิชาการ
นายวรวิชญ์ ทิพย์มลสวัสดิ์
นางมิถยา พิทักษ์วงศ์

นางกรุณา รอดรักษ์

นายวรวิชญ์ ทิพย์มลสวัสดิ์ งานชาการ
นายพงษ์ศักดิ์ มุขแก้ว
นางมิถยา พิทักษ์วงศ์ งานชาการ
นางกรุณา รอดรักษ์

นางเยาวนิตย์ ชัชชวาลย์
การบริหารงานวิชาการ
การบริหารงานงบประมาณ
การบริหารงานทั่วไป
การบริหารงานกิจการนักเรียน
การบริหารงานบุคคล
นางกรุณา รอดรักษ์
นางสมศิริพร สิทธิเชเนทร์
นางวนิดา เพชรประพันธ์
นางมิถยา พิทักษ์วงศ์
นายพงษ์ศักดิ์ มุขแก้ว

นางสมศิริพร สิทธิเชเนทร์

นางประทิน จะรา
นายจำเริญ สุขาทิพย์
นางกรุณา รอดรักษ์ งานวชาการ
นายวรวิชญ์ ทิพย์มลสวัสดิ์













สภาพปัญหาหรือสิ่งที่ต้องการพัฒนา
ครูเป็นปัจจัยหลักอย่างหนึ่งในการที่จะนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ เนื่องจากครูต้องเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง โรงเรียนที่มีครูอายุค่อนข้างสูงจะไม่ค่อยชอบการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น ถ้าจะให้เรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ อาจทำให้ครูบางคนไม่ชอบหรือบางคนอาจจะปฏิเสธ ด้วยเหตุนี้ การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้าไปใช้ในโรงเรียนที่มีครูอายุมาก ๆ จึงค่อนข้างจะมีปัญหา บางครั้งเทคโนโลยีอาจจะไปสร้างปัญหาให้แก่ครูแทนที่จะไปแก้ปัญหาและช่วยพัฒนางาน
ดังนั้นปัญหาหรือสิ่งที่ต้องพัฒนา คือ การเปิดการอบรมการใช้นวัตกรรมใหม่ๆให้กับครูเพื่อจะได้เกิดการยอมรับการเปลี่ยนแปลงการใช้เทคโนโลยีและการให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ


ผู้ให้ข้อมูล นายวรวิชญ์ ทิพย์มลสวัสดิ์
หน่วยงาน โรงเรียนวัดสามัคคีนุกูล
อำเภอฉวาง
ณ วันที่18 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น