วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ใบงานที่ 8



โปรแกรม SPSS OF WINDOWS

สถิติ หมายถึง ตัวเลขที่ให้ข้อความต่างๆ ซึ่งไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นตัวเลขเกี่ยวกับการบริหารงานของรัฐเท่านั้น ตัวเลขนี้มักจะอยู่ในลักษณะของยอดรวม ซึ่งประมวลมาได้จากข้อมูลเบื้องต้น หรือบางครั้งเป็นตัวเลขที่เป็นผลมาจากการวิเคราะห์เปรียบเทียบหรือจากการคิดคำนวณ หรือจากการจัดกระทำตามระเบียบวิธีสถิติกับข้อมูลอื่น ๆหลายรายการ

ค่าเฉลี่ย ทางสถิติ หมายถึง ค่ากลางของข้อมูลแต่ละชุด เช่น ค่าเฉลี่ยเลขคณิต
ค่ามัธยฐาน ค่าที่มีตำแหน่งอยู่กึ่งกลางของข้อมูลทั้งหมด เมื่อเรียงค่าของข้อมูลจากน้อยที่สุดไปหามากที่สุดหรือจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด
ค่าฐานนิยม คือ ค่าที่ซ้ำกันมากที่สุด
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รากที่สองของค่าเฉลี่ยของกำลังสองของส่วนเบี่ยงเบนจากค่าเฉลี่ยเลข
คณิต ใช้วัดการกระจายของข้อมูล เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ s

ประชากร หมายถึง กลุ่มสมาชิกทั้งหมดที่ต้องการศึกษา อาจจะเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ได้
กลุ่มตัวอย่าง หมายถึง กลุ่มสมาชิกที่ถูกเลือกมาจากประชากรด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่งเพื่อเป็นตัวแทนในการศึกษาและเก็บข้อมูล

มาตราการวัดระดับนามบัญญัติ (Nominal Scale) เป็นระดับที่ใช้จำแนกความแตกต่างของสิ่งที่ต้องการวัดออกเป็นกลุ่ม ๆ โดยใช้ตัวเลข
มาตราการวัดระดับเรียงอันดับ (Ordinal Scales) เป็นระดับที่ใช้สำหรับจัดอันดับที่หรือตำแหน่งของสิ่งที่ต้องการวัด ตัวเลขในมาตราการวัดระดับนี้เป็นตัวเลขที่บอกความหมายในลักษณะมาก-น้อย สูง-ต่ำ เก่ง-อ่อน กว่ากัน
มาตราการวัดระดับช่วง (Interval Scale) เป็นระดับที่สามารถกำหนดค่าตัวเลขโดยมีช่วงห่างระหว่างตัวเลขเท่า ๆ กัน สามารถนำตัวเลขมาเปรียบเทียบกันได้ว่าว่ามีปริมาณมากน้อยเท่าใด แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นกี่เท่าของกันและกัน เพราะมาตราการวัดระดับนี้ไม่มี 0 (ศูนย์) แท้ มีแต่ 0 (ศูนย์) สมมติ
มาตราการวัดระดับอัตราส่วน (Ratio Scale) เป็นระดับที่สามารถกำหนดค่าตัวเลขให้กับสิ่งที่ต้องการวัด มี 0 (ศูนย์) แท้ เช่น น้ำหนัก ความสูง อายุ เป็นต้น ระดับนี้สามารถนำตัวเลขมาบวก ลบ คูณ หาร หรือหาอัตราส่วนกันได้ คือสามารถบอกได้ว่า ถนนสายหนึ่งยาว 50 กิโลเมตร ยาวเป็น 2 เท่าของถนนอีกสายหนึ่งที่ยาวเพียง 25 กิโลเมตร

ตัวแปร คือ คุณลักษณะหรือคุณสมบัติของสิ่งต่างๆ ที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิต สามารถนำมาศึกษาวัดได้ นับได้ หรือแจกแจงได้ คุณลักษณะและคุณสมบัติเหล่านี้เปลี่ยนแปลงได้ หรือเปลี่ยนค่าได้ อาทิ ความคิดเห็น ความพึงพอใจ ฐานะทางการเงิน ฐานะทางสังคม จำนวนสมาชิกในครอบครัว
ตัวแปรต้น (Independentvariables) หมายถึงตัวแปรที่สามารถมีผลกระทบทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อตัวแปรอื่นๆได้
ตัวแปรตาม (Dependentvariables) หมายถึง ตัวแปรที่มีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากตัว แปรต้น

สมมติฐาน คือ คำสรุปโดยอาศัยการเดาเพื่อคาดการณ์ล่วงหน้า และคำสรุปนั้นยังไม่คงทีแน่นอนตายตัว มีรากฐานมาจากความเป็นจริง สามารถทดสอบได้โดยการใช้ข้อมูล สมมติฐานอาจเป็นคำพูดที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อทำนายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น
ประเภทของสมมุติฐานการวิจัย
1.สมมุติฐานที่เน้นการตอบปัญหาโดยไม่คำนึงมีการทดสอบทางสถิติ
2.สมมุติฐานที่เน้นการตอบปัญหาโดยการทดสอบทางสถิติ

T – test เป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ย เหมาะสำหรับถ้าตัวแปรเป็นตัวแปรเชิงปริมาณที่สามารถวัดค่าได้
F – test (หรือ ANOVA) เป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ยตั้งแต่สองกลุ่มขึ้นไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น